สาเหตุ ของ อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสาเหตุของอุทกภัยในภาคใต้ว่า เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศต่ำจากประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ประกอบกับความกดอากาศต่ำในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม การรวมตัวกันของความกดอากาศทั้งสองนี้เคลื่อนเข้าพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดพายุคล้ายพายุดีเปรสชัน ทำให้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงจังหวัดพัทลุงมากกว่า 200 มิลลิเมตร[6]

ดินถล่ม

ด้านเจ้าหน้าที่ชุดตรวจการณ์ของเทศบาลนครสงขลา ตรวจสอบสภาพพื้นที่บนเขาน้อย โดยเฉพาะสภาพของดินบริเวณที่เกิดดินถล่มเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ผลการตรวจสอบพบว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีเศษหินและดินไปขวางการไหลของน้ำ ทำให้เสี่ยงที่ทำให้ดินชุ่มน้ำและถล่มลงมาซ้ำ โดยเฉพาะในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ได้เคยเกิดเหตุดินถล่มมาทับบ้านเรือนบริเวณตีนเขามาแล้ว 2 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 http://www.bangkokpost.com/business/tourism/230481... http://www.bangkokpost.com/news/local/228789/five-... http://www.bloomberg.com/news/2011-04-01/southern-... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%... http://www.ryt9.com/s/iq03/1117881 http://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=... http://www.komchadluek.net/detail/20110327/92870/%... http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/187629.htm... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=95... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...